"แนะนำ วิธีการล้างและทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำท่วม ได้ด้วยตนเอง"
มีข้อแนะนำสำหรับท่าน ๆ ที่ พบปัญหาในเรื่อง น้ำท่วม โรงงาน ทำให้เครื่องมือ เครื่องจักร อยู่ภายใต้ น้ำท่วม ดังนั้น เราจึงขอแนะนำวิธี การล้างเครื่อง การทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำท่วม มาฝากกัน ดังต่อไปนี้
การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร (ส่วนตัวเครื่องภายนอก )
การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร ส่วนที่เป็น Cover , โครงเครื่อง , ส่วนที่เป็นสี , กระจก , พลาสติก , ฐานเครื่อง เป็นต้น
- เมื่อหลังน้ำลดแล้วก่อนการทำความสะอาดเครื่องจักร ห้ามเปิดสวิชท์ เครื่องโดยเด็ดขาด
- เริ่มล้างทำความสะอาดเครื่องจักร โดยนำสิ่งสกปรกออกจากบริเวณเครื่องจักรที่ผ่าน น้ำท่วม มา เช่น โคลน , เศษดิน, เศษหญ้า , ตะไคร่น้ำ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เป็นต้น
- การล้างส่วนตัวเครื่องจักร ให้ใช้น้ำ และ น้ำยาทำความสะอาด ล้างบริเวณทั่วไปของเครื่องจักร ( ยกเว้นบริเวณที่เป็นแผงวงจรไฟฟ้า )
การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร (ส่วนตัวเครื่องภายใน)
ได้แก่ ส่วนที่เป็นอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แม่พิมพ์, กระบอกสูบ, เพลา, เฟือง, ผนังครื่อง Ball Screw, Slide Way หรือ ส่วนที่ไม่ได้มีสีปกปิดไว้ เป็นต้น
- ให้ล้างทำความสะอาดเครื่องจักร ส่วนภายในนี้ โดยนำสิ่งสกปรก ที่เกิดจาก น้ำท่วม ออกจากบริเวณดังกล่าวเช่นกัน
- การล้างเครื่องจักร โดยใช้น้ำยาล้างเครื่องจักร หรือน้ำยาทำความสะอาด ชนิดพิเศษ ที่สามารถล้างคราบสนิม หรือ คราบน้ำมัน, คราบจารบี ออกจากตัวเครื่อง (ยกเว้นบริเวณที่เป็นแผงวงจรไฟฟ้า)
- หลังจากล้างน้ำแล้ว เราอาจพบสนิมหลงเหลืออยู่ ซึ่งปัญหานี้ เราอาจต้องขัดสนิมออก ด้วยกระดาษทรายชนิดละเอียด หรือ แผ่นสก๊อตไบร์ท ทำการขัดลูบ (ไม่แรงจนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวของเครื่องจักร เกิดความเสียหายได้) หลังจากนั้นควรทาหรือฉีดพ่นด้วยน้ำยากันสนิม หรือ สารหล่อลื่น เพื่อลดการเกิดสนิมซ้ำ
- เมื่อล้างน้ำเสร็จ เรารแนะนำว่า อย่าปล่อยหรือทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้เกิดสนิมได้โดยเร็ว ดังนั้นหลังผิวเหล็กแห้งแล้ว ควรฉีดพ่น หรือ ทาด้วยน้ำมัน หรือ น้ำยาปกป้องสนิม ทันที
- สำหรับส่วนที่เป็นเหล็ก หรือ โลหะต่างๆ ซึ่งจมน้ำ หรือน้ำท่วม เป็นเวลานาน สภาพสี หรือผิวของชิ้นส่วนนั้น อาจชำรุดเสียหาย ซึ่งเราอาจใช้ สีกันสนิมชนิดพิเศษ ทาไว้ก่อนก็ได้ เพราะจะได้เป็นการป้องกันสนิม มิให้เกิดซ้ำแบบถาวรได้ หรือ หากต่อไป เราสามารถทำสี หรือ พ่นสี ในส่วนนั้นได้ โดยมิต้องมาขัดสนิมใหม่อีก
การทำความสะอาด แผงวงจรไฟฟ้า แผงวงจรอิเล็คทรอนิค
- แผงวงจรไฟฟ้า หรือ แผงวงจรอิเล็คทรอนิค ถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก ดังนั้นการจะกู้เครื่องจักรมาใช้ได้ หัวใจคือจุดนี้ เราจึงควรใช้ น้ำยาไล่ความชื้น เข้ามาทำความสะอาด แทนการใช้ลมเป่าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการใช้ลมอาจมีโอกาส ที่น้ำหรือ ความชื้น ยังคงติดค้างหลงเหลืออยู่ได้ ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานของเครื่อง อาจเกิดการไฟฟ้าลัดวงจร จนแผงวงจรนั้น เสียหายได้
- หลังจากใช้ น้ำยาไล่ความชื้น ฉีดพ่น แล้ว เราอาจใช้ลมแห้ง หรือ เครื่องเป่าลมร้อน ( Air Dryer ) เป่าไปยังบริเวณ แผงวงจรไฟฟ้า อีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีน้ำหลงเหลือ หรือค้างอยู่ในแผงวงจรไฟฟ้า ได้
คำเตือน !!!
- หลังจากทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำท่วม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องตรวจสอบทุกจุดด้วยความมั่นใจว่าอยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน จึงค่อยทำการเปิดเครื่อง (Switch On) แต่ขอย้ำว่า (การเปิดเครื่อง เพื่อใช้งาน ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างชำนาญการเท่านั้น)
อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำลด
- ผ้าชามัวร์ไมโคร ไฟเบอร์หรืออื่นๆ
- กาพ่นสี, กาพ่นน้ำยาไล่ความชื้น, หัวเป่าลม, สายลม
- เครื่องเป่าลมร้อน (Air Dryer)
- น้ำยาไล่ความชื้น
- แปรงทาสี, ลูกกลิ้งทาสี
- กระดาษทราย
- สีกันสนิม (ที่ใช้สำหรับทา เครื่องจักร โดยเฉพาะ)
- น้ำมันหล่อลื่น, จารบี เป็นต้น
ข้อแนะนำ
- การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำท่วม ต้องใช้ความระมัดระวัง และ ควรอยู่ภายใต้การดูแล จากช่าง, ผู้รู้, ผู้เชี่ยวชาญ อย่างใกล้ชิด
- การทำความสะอาดเครื่องจักรที่ถูกต้อง จะเป็นการลดความเสียหาย และ ลดค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมเครื่องจักรได้
- หลังน้ำลด ควรเข้าไปทำความสะอาดโดยทันที มิเช่นนั้น จะมีสนิมเกิดขึ้นโดยทันที ซึ่งจะทำให้เป็นผลเสียต่อเครื่องจักรได้
- การล้างเครื่องจักร ควรสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น หมวก, แว่นตา, ถุงมือ, รองเท้าบู๊ต, เข็มขัดนิรภัย และผ้าปิดจมูก เป็นต้น ทุกครั้งที่ทำการล้าง หรือ ทำความสะอาดเครื่องจักร หลังน้ำท่วม